พืช ผัก ผลไม้ ที่เราไม่ค่อยชอบกินกัน ความจริงพืชธรรมชาติเหล่านี้ โรคมะเร็งไม่อยากถามหาเลยและยังกลัวสิ่งเหล่านี้ด้วยซ้ำ ดังนั้น หากคนเรากินพืช ผัก ผลไม้ อย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ ร่างกายจะมีเกราะป้องกันมะเร็งได้อย่างดี ในผัก ผลไม้ มีอะไรดีที่พิชิตมะเร็งได้
เส้นใยอาหาร โดยทั่วไป หมายถึงสารจากพืชที่ไม่ย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในทางเดินอาหารของคน การกินอาหารที่มีเส้นใยสูงมีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และอาจลดความเสี่ยงของมะเร็งชนิดอื่น เช่น มะเร็งเต้านม ช่องปาก กระเพาะอาหาร และทวารหนัก เป็นต้น
สารเม็ดสีในพืช มีคุณสมบัติต้านมะเร็งหลายชนิด เช่น ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
• คลอโรฟิลล์ : สารสีเขียว พบในพืชใบเขียวทั่วไป เช่น คะน้า ผักโขม ตำลึง และสาหร่าย เป็นต้น
• สารคาโรทีนอยด์ : สารสีส้ม-เหลือง และแดง-ส้ม มีหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน ลูทีน ไลโคปิน เป็นต้น พบในแครอท ฟักทอง มะเขือเทศ และผักใบเขียวอื่นๆ
• สารแอนโทไชยานิติน : สารสีน้ำเงิน ม่วง แดง พบในหัวบีทเบอร์รี่ เชอร์รี่ องุ่นม่วงและแดง กะหล่ำม่วง เป็นต้น
ผักตระกูลกะหล่ำ มีหลากชนิด เช่น บรอคโคลี กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ หัวผักกาด มีสาระสำคัญหลายชนิด เช่น suiforaphane และสาร isothiocyanate ซึ่งช่วยขับพิษสารเคมี สาร indole สามารถจับสารก่อมะเร็ง ขับสารเคมีและรักษาสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน สาร giucosinolate ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันและยับยั้งการเจริญของเนื้องอก เป็นต้น
ส้ม – มะนาว นอกจากมีวิตามินซีแล้ว ยังประกอบไปด้วยสารอื่นๆ อีก เช่น สาร flavonoids ที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง สาร limonoids ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการขับพิษ ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก สาร limonenes มีคุณสมบัติกระตุ้นการขับพิษ สาร carotenoids มีคุณสมบัติยับยั้งอนุมูลอิสระ สาร terpenes ลดการสร้างคลอเรสเตอรอล และส่งเสริมเอนไซม์ที่ยับยั้งสารก่อมะเร็ง
หอม – กระเทียม มีสารป้องกันมะเร็งหลายชนิด เช่น สาร diallyt disulfide และ diallyt trisulfide พบในน้ำมันกระเทียม สาร S-allyicystein พบในกระเทียมทุบ สารเหล่านี้มีกลไกการทำงานหลายอย่าง เช่น กระตุ้นการขับพิษ ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง เพิ่มภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
เห็ดและสาหรายทะเล สาร tentinan ในเห็ดหอมและเห็ดหลินจือ และสาร polysaccharide ในเห็ด Mitake สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และสามารถยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง
ในสาหร่ายทะเลมีสาร mucin ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเส้นใยอาหาร จะดูดซับน้ำและสารพิษ นอกจากนี้ยังพบสาร mucopolysaccharide ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย
เครื่องเทศ พบสารต้านมะเร็ง เช่น พริกไทย ขิง ขมิ้น rosemary และอื่นๆ สารเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านอนุมูลอิสระ
ผัก - ผลไม้อื่นๆ
• สับปะรด : มีสาร bromelain ต้านมะเร็งในสัตว์ทดลอง ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งและลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
• ทับทิม แอปเปิล องุ่น และสตรอเบอร์รี่ : มีสาร Ellagic acid ที่สามารถจับและทำลายพิษของสารก่อมะเร็ง
• แอสปารากัส อะโวกาโด บรอคโคลี แตงโม : มีสาร glutathione เป็นสารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และขับพิษสารเคมี
• ผักชีฝรั่ง : มีสาร polyacetylenes สามารถยับยั้งการสร้างสารส่งเสริมมะเร็งได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือ - แม่ไม่รู้หนูเป็นมะเร็ง
No comments:
Post a Comment