Friday, September 13, 2013

ความรู้เรื่องมะเร็ง


หลังจากหลายปีที่พูดกันว่าการทำคีโมเป็นทางเลือกเดียวที่จะ ลอง และใช้ในการกำจัดโรคมะเร็ง ในที่สุดโรงพยาบาลจอห์น ฮอพกินส์ก็เริ่มแนะนำถึงทางเลือกอื่นๆ อีก ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโรคมะเร็งจาก รพ.จอห์น ฮอพกินส์

1. ทุกๆ คนมีเซลมะเร็งอยู่ในร่างกาย เซลมะเร็งเหล่านี้จะไม่ปรากฎด้วยวิธีการตรวจสอบตามมาตรฐาน จนกระทั่งมันขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับพันล้านเซล เมื่อแพทย์บอกว่าไม่มีเซลมะเร็งในร่างกายผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแล้ว มันหมายถึงว่าระบบไม่สามารถตรวจสอบเซลมะเร็งได้เพราะว่าจำนวนของมันยังไม่มากพอ จนถึงระดับที่สามารถตรวจจับได้เท่านั้น

2. เซลมะเร็งเกิดขึ้นระหว่าง 6 ถึงมากกว่า 10 ครั้งในช่วงอายุของคนๆ หนึ่ง

3. เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงเพียงพอ เซลมะเร็งจะถูกทำลายและป้องกันไม่ให้เกิดการขยายตัวและกลายเป็นเนื้องอก

4. เมื่อใครก็ตามเป็นมะเร็ง มันกำลังบอกว่าคนๆ นั้นมีความบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ ซึ่งอาจเกิดจากยีน สิ่งแวดล้อม อาหารและปัจจัยอื่นๆ ในการดำรงชีวิต

5. เพื่อเอาชนะภาวะบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงประเภทของอาหารรวมทั้งสารอาหารบางอย่างจะช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น

6. การทำคีโม คือการให้สารเคมีที่มีความเป็นพิษกับเซลมะเร็งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกัน มันก็จะทำลายเซลที่ดีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในไขกระดูก ทำลายระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ และเป็นสาเหตุทำให้อวัยวะบางส่วนถูกทำลาย เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ฯลฯ

7. การฉายรังสีแม้ว่าจะเป็นการทำลายเซลมะเร็ง แต่ก็ทำให้เกิดอาการไหม้ เป็นแผลเป็น และทำลายเซลที่ดี เนื้อเยื่อ และอวัยวะ

8. การบำบัดโดยคีโม และการฉายรังสีมักจะช่วยลดขนาดของเนื้องอกได้ในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตามถ้าทำไปนานๆ พบว่ามักไม่ส่งผลต่อการทำลายเซลเนื้องอก

9. เมื่อร่างกายได้รับสารพิษจากการทำคีโมหรือการฉายรังสีมากเกินไป ระบบภูมิคุ้มกันอาจปรับตัวเข้ากันได้หรือไม่ก็อาจถูกทำลายลง ดังนั้นคนๆ นั้นจึงอาจตกอยู่ในอันตรายจากการติดเชื้อหลายชนิดและทำให้โรคมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น

10. การทำคีโมและการฉายรังสีอาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกลายพันธุ์ ดื้อยา และยากต่อการทำลาย การผ่าตัดก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกระจายไปทั่วร่างกาย

11. วิธีที่ดีที่สุดในการทำสงครามกับมะเร็ง คือการไม่ให้เซลมะเร็งได้รับอาหารเพื่อนำไปใช้ในการขยายตัว

อะไรคืออาหารที่ป้อนให้กับเซลมะเร็ง

a. น้ำตาลคืออาหารของมะเร็ง การตัดน้ำตาลคือการตัดแหล่งอาหารสำคัญที่จ่ายให้กับเซลมะเร็ง สารทดแทนน้ำตาลอย่างเช่น นิวตร้าสวีต อีควล สปูนฟูล ฯลฯ ล้วนทำมาจากสารให้ความหวาน ซึ่งเป็นอันตราย สารทดแทนซึ่งเป็นกลางที่ดีกว่าคือ น้ำผึ้งมานูคา (จากนิวซีแลนด์) หรือน้ำอ้อย แต่ในปริมาณน้อยๆ เท่านั้น เกลือสำเร็จรูปก็ใช้สารเคมีในการฟอกขาว ควรหันไปเลือกใช้ แบรก อมิโน หรือเกลือทะเลแทน

b. นมเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายผลิตเมือก โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร เซลมะเร็งจะได้รับอาหารได้ดีในสภาวะที่มีเมือก การใช้นมถั่วเหลืองชนิดไม่หวานแทนนม จะทำให้เซลมะเร็งไม่ได้รับอาหาร

c. เซลมะเร็งเติบโตได้ดี ในภาวะแวดล้อมที่เป็นกรด อาหารจำพวกเนื้อจะสร้างสภาวะกรดขึ้น ดังนั้นจึงควรหันไปรับประทานปลาจะดีที่สุด รองลงไปคือรับประทานไก่แทนเนื้อและหมู ในเนื้ออาจมียาฆ่าเชื้อ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโตในสัตว์ และเชื้อปรสิตบางประเภทตกค้างอยู่ ซึ่งล้วนเป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นมะเร็ง

d. อาหารที่ประกอบด้วยผักสด 80% และน้ำผลไม้ พืชจำพวกหัว เมล็ด ถั่วเปลือกแข็ง และผลไม้จำนวนเล็กน้อย จะช่วยทำให้ร่างกายมีสภาวะเป็นด่าง อาหารอีก 20% อาจได้มาจากการทำอาหารร่วมกับพืชจำพวกถั่ว น้ำผักสดจะให้เอ็นไซม์ซึ่งสามารถดูดซึมได้ง่ายและซึมทราบสู่ระดับเซลภายใน 15 นาที เพื่อบำรุงร่างกายและส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลที่ดี เพื่อให้ได้เอ็นไซม์ในการสร้างเซลที่ดี ให้พยายามดื่มน้ำผักสด ( ผักส่วนใหญ่รวมทั้งถั่วที่มีหน่อหรือต้นอ่อน) และรับประทานผักสดดิบ 2-3 ครั้งต่อวัน เอ็นไซม์จะถูกทำลายได้ง่ายที่อุณหภูมิ 140 องศา F ( ประมาณ 40 องศา C)

e. ให้หลีกเลี่ยงกาแฟ น้ำชา และชอกโกแลต ซึ่งมีคาเฟอีนสูง ชาเขียวถือเป็นทางเลือกที่ดีและมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง น้ำดื่มให้เลือกดื่มน้ำบริสุทธิ์ หรือที่ผ่านการกรอง เพื่อหลีกเลี่ยงท๊อกซินและโลหะหนักในน้ำประปา น้ำกลั่นมักมีสภาพเป็นกรด ให้หลีกเลี่ยง

12. โปรตีนจากเนื้อจะย่อยยาก และต้องการเอ็นไซม์หลายชนิดมาช่วยในการย่อย เนื้อสัตว์ที่ไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหารจะเกิดการบูดเน่าและมีความเป็นพิษมากขึ้น

13. ผนังของเซลมะเร็งจะมีโปรตีนห่อหุ้มไว้ การงดหรือการรับประทานเนื้อสัตว์น้อยลง จะทำให้มีเอ็นไซม์เหลือมากพอมาใช้โจมตีกำแพงโปรตีนที่ห่อหุ้มเซลมะเร็ง และช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น

14. สารอาหารบางอย่างอาจช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ( สาร IP6 [inositol hexaphosphate หรือ phytic acid], สาร Flor-essence, สาร Essiac, สารแอนตี้-อ๊อกซิแดนส์ , วิตามิน , เกลือแร่ , EFAs ฯลฯ) เพื่อช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น สารอาหารอื่นๆ เช่น วิตามินอี เป็นที่ทราบกันดีว่าทำให้เกิดการตายลงของเซล หรือกำหนดระยะเวลาการตายของเซล ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายในการกำจัดเซลที่ถูกทำลาย ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการ หรือไม่มีประโยชน์ออกไป

15. มะเร็งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ การป้องกันเชิงรุก และ การคิดในเชิงบวกจะช่วยให้เราสามารถอยู่รอดจากการทำสงครามกับมะเร็ง.... ความโกรธ การไม่รู้จักให้อภัย และความขมขื่นใจ จะทำให้ร่างกายเกิดความตึงเครียดและมีสภาวะเป็นกรดเพิ่มขึ้น ให้เรียนรู้ที่จะมีความรักและจิตวิญญาณแห่งการให้อภัย เรียนรู้ที่จะผ่อนคลายและมีความสุขกับชีวิต

16. เซลมะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่มีอ๊อกซิเจนเป็นจำนวนมาก การออกกำลังกายทุกวัน และการหายใจลึกๆ จะช่วยให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้นลงไปจนระดับเซล การบำบัดด้วยอ๊อกซิเจนถือเป็นวิธีการอีกอย่างที่ใช้ในการทำลายเซลมะเร็ง

นี่คือเรื่องที่คุณควรส่งออกไปให้คนที่มีความสำคัญกับชีวิตคุณได้รับรู้รับทราบ

Wednesday, September 11, 2013

เทคนิคน่ารู้ ทานยาอย่างไรให้ปลอดภัย


แพทย์แนะวิธีจัดยากิน 5 วิธีปลอดภัย เผยคนไข้กินยามากเสี่ยงทั้งพิษจากยาและฤทธิ์ยาตีกัน แนะให้รู้จักกินยาถูกกับโรคที่เป็นจะทำให้ยามีประสิทธิภาพสูงสุด

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ภายใต้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวแสดงความห่วงใยการบริโภคยาที่มากเกินความจำเป็น ว่า ปัจจุบันมียาจำนวนมากและยาหลายชนิดมีฤทธิ์ซ้ำและก้ำกึ่งกัน เช่น ยาลดไข้ก็สามารถแก้ปวดได้ หรือยาละลายลิ่มเลือดก็แก้ปวดได้ด้วย ทำให้เกิดปัญหายาเป็นพิษ ปัญหานี้มักพบได้กับคนที่ใช้ยาเยอะอยู่แล้ว หรือมียาประจำตัวอยู่แล้ว ต่อไปก็จะเจอปัญหาสับสนกับการใช้ยาเพราะประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมอุดมยา

"กฎข้อห้ามข้อหนึ่งคือการกินยายิ่งมาก ยิ่งเสี่ยงมาก ทั้งพิษจากยาและยาออกฤทธิ์ตีกัน อีกข้อหนึ่งคือ กินยามากไม่ได้ช่วยให้หายมากขึ้น ตรงข้ามอาจทำให้ตับวายมากกว่า" น.พ.กฤษดากล่าว

น.พ.กฤษดากล่าวว่า เพื่อระงับปัญหาจากการกินยามาก เวชศาสตร์อายุรวัฒน์มี 5 เทคนิคจัดโปรแกรมกินยาไม่สับสน แบบง่ายๆ สำหรับคนกินยาเยอะ คือ

1. แยกยาเป็นชนิดเขียนชื่อกำกับไว้ให้ชัดเจน
2. เขียนฉลากโดยเขียนฤทธิ์ยาสั้นๆ ติดไว้ พร้อมวิธีรับประทาน
3. ใช้ตลับแบ่งยา ข้อนี้ช่วยคนกินยาเยอะไม่ให้กินยาซ้ำ เช่น ยาละลายลิ่มเลือดหากกินซ้ำเข้าไปก็อาจทำให้ตกเลือดจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
4. พกยาติดตัวไปหาหมอเพื่อไม่ให้เกิดการจ่ายยาซ้ำ
5. คือขอให้ถามหากสงสัย โดยเฉพาะเรื่องของยาซ้ำ ให้ถามแพทย์หรือเภสัชกร

ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ กล่าวว่า จากประสบการณ์การรักษาคนไข้ ได้รับคำถามมากมายเกี่ยวกับภาษาทางเคมีและปฏิกิริยาในทางเภสัชวิทยา ทำให้เกิดความสับสนในเรื่องของการใช้ยา คือ ยาลดความดันกับยาโรคหัวใจ ยากลุ่มนี้มีอยู่มากบางตัวลดความดันและทำให้หัวใจเต้นช้าลง แต่ถ้ารับประทานผิดคือซ้ำซ้อนจนทำให้มากเกินไปอาจทำให้ หัวใจเต้นช้า มึนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยไม่รู้สาเหตุ ยิ่งกว่านั้นถ้าเป็นภูมิแพ้หอบหืดอยู่จะถึงขั้นหลอดลมตีบเสียชีวิตได้

าลดไขมันคอเลสเตอรอลกับยาลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ถูกเรียกให้สับสนว่า “ยาลดไขมัน” เหมือนๆ กัน การรับประทานที่มากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะส่งผลให้มึนศรีษะ ไม่สบายตัว ปวดตามร่างกายและทำให้ตับทำงานหนักถึงขั้นเสื่อมเร็วได้ ยาแก้ปวดกับ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาประเภทนี้มักถูกจ่ายคู่กันซึ่งในหลายครั้งไม่จำเป็นต้องกินควบเลย เพราะการได้รับมากไปใช่ว่าจะทำให้ดีขึ้น หลักง่ายคือห้ามคิดว่า ปวดมากต้องกินยามาก อันนี้จะอันตรายหนักขึ้น

 ยาแก้แพ้กับยาแก้หวัด เป็นยาที่ถูกจ่ายบ่อยมากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีหลักง่ายคือ ยาแก้แพ้บางชนิดไม่ใช่ยาแก้หวัด และยาแก้หวัดบางชนิดก็ไม่อาจแก้แพ้ได้ ข้อสำคัญคืออย่าใช้ซ้ำซ้อนกันมาก หากเป็นหวัดไปหาคุณหมอขอให้บอกว่าท่านใช้ยาเหล่านี้อยู่ครับจะได้ไม่ถูกจ่าย ยาซ้ำ

ยาแก้อักเสบกับยาฆ่าเชื้อ (ยาปฏิชีวนะ) ยา 2 ชนิดนี้ไม่ใช่ยาตัวเดียวกันเลย แต่ถูกจับมาเรียกจนคุ้นปากคุ้นหู ขอให้ทราบว่ายาแก้อักเสบมีอยู่กว้างมากและฆ่าเชื้อไม่ได้  ส่วนยาฆ่าเชื้อนั้นก็ใช่ว่าจะแก้อักเสบได้เสมอไป ถ้าใช้ยาฆ่าเชื้อนานไปจะเสี่ยงเชื้อดื้อยา มากขึ้นด้วย

ยาคลายเครียดกับยานอนหลับ ยากลุ่มคลายเครียดอาจมีฤทธิ์ง่วงก็จริงแต่ไม่ใช่ยาช่วยให้หลับเพราะยาคลาย เครียดหรือต้านซึมเศร้ามีฤทธิ์ไปกวนสารเคมีในสมองทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ การรับประทานคู่กันจะยิ่งอันตรายต่อเคมีในสมองมากขึ้น

ยาลดไข้กับยาแก้ปวด ท่านที่ทานยาแก้ปวดเป็นประจำอยู่ เมื่อมีไข้ขอให้ระวังการทานยาลดไข้เพิ่ม และให้หยุดยาแก้ปวดก่อน เพราะยาทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ซ้ำซ้อนกันมาก และพิษก็ซ้ำซ้อนกันมากด้วย

ยาโรคกระเพาะกับยาแก้ปวดบิดไส้ เวลาปวดท้องหมออาจจะให้ยาร่วมกันมาทั้ง 2 ชนิด ขอให้ดูให้ดีก่อนรับประทาน หากเป็นโรคกระเพาะไม่มากอาจไม่ต้องกินยาแก้ปวด หรือท่านที่ปวดท้องแต่ไม่แน่ใจว่าจากลำไส้ขอให้เลี่ยงยาแก้ปวดบิดไส้ไว้ก่อนยาช่วยระบายกับยาถ่าย ยกตัวอย่างยาช่วยระบายเช่น ใยอาหาร มะขามแขก ส่วนยาถ่ายคือแบบที่ทำให้ปวดลำไส้ถ่ายเหลวคล้ายท้องเสีย หากรับประทานร่วมกันจะทำให้เกิดอันตรายถ่ายจนถึงขั้นช็อกได้

ยาละลายลิ่มเลือดกับยาช่วยเลือดไหลคล่อง ยาละลายลิ่มเลือดอย่าง “แอสไพริน” ถ้ากินกับยาที่ทำให้เลือดไหลคล่องอย่าง “วาร์ฟาริน” จะทำให้เกิดเลือดออกได้มากหากไม่ระวัง ดังนั้น เทคนิคคือไม่ควรรับประทานร่วมกันและหมั่นเจาะเลือดดูการแข็งตัวของเลือดอยู่เสมอ

ยาสร้างเม็ดเลือดกับยาธาตุเหล็ก ยา 2 ชนิดนี้บางทีถูกจ่ายคู่กัน แม้จะทานร่วมกันได้แต่มันมีพิษโดยเฉพาะกับ “ธาตุเหล็ก” ในกรณีที่โลหิตจางอย่างไม่แน่ใจขอให้เลี่ยงธาตุเหล็กไว้ก่อนเพราะมันเป็นพิษ กับโลหิตจางชนิด “ธาลัสซีเมีย” ส่วนยาสร้างเม็ดเลือดที่เป็น “โฟลิก” นั้นปลอดภัยรับประทานได้ในเลือดจางทุกประเภท

 ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน