ดังนั้น การออกกำลังกายในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรักษาการเคลื่อนไหวของข้อต่อ โดยการยืดกล้ามเนื้อและเคลื่อนไหวข้อต่อต่างๆ ให้เต็มช่วงการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ
กล่าวเป็นข้อๆ ประโยชน์ของการบริหารร่างกายของผู้สูงอายุ มีประโยชน์ดังนี้
- ช่วยชะลอความแก่ และกระฉับกระเฉงขึ้น ชลอความเสื่อมของสมรรถภาพทางร่างกายและการลดลงของประสิทธิภาพในการทำงาน
- ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ควบคุมไม่ให้น้ำหนักเกิน หรืออ้วน ทำให้เคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น
- ทำให้การทรงตัว และการทำงานของอวัยวะต่างๆ มีการประสานสัมพันธ์กันดีขึ้น
- ช่วยยืดอายุให้ยืนยาวขึ้น
- มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ มีสมาธิในการทำงาน
- ช่วยลดความเครียด ทำให้อารมณ์ดี และทำให้การนอนหลับพักผ่อนดีขึ้น
- การออกกำลังกายทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หัวใจทำงานได้ทนทานมากขึ้น และช่วยให้ระดับไขมันในเลือดลดลง ลดอัตราการเกิดหลอดเลือดตีบตันที่หัวใจ สมอง และไต ลดอุบัติการของการเกิดอัมพาตได้
- ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค หรือระบบไหลเวียน ระบบหายใจ กล้ามเนื้อ และกระดูกแข็งแรงขึ้น
- ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น
1. การบริหารคอ เืพื่อช่วยปัญหาเรื่องการวิงเวียนศีรษะ
2. การบริหารข้อไหล่ เพื่ือช่วยป้องกันไหล่ติด
3. การบริหารข้อเข่า เพื่อช่วยเรื่องปวดขาปวดเข่า
4. การบริหารข้อเท้า เพื่อช่วยเรื่องการทรงตัว
หมายเหตุ
ในการออกกำลังกายทุกครั้ง ผู้สูงอายุควรจะประเมินความเหมาะสม และความสามารถก่อน เช่น บางคนที่มีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ว่าควรออกกำลังกายประเภทใด และมากน้อยเพียงใด การเริ่มออกกำลังกายนั้นควรเริ่มจากการศึกษาหลักการให้ถูกต้องก่อน แล้วค่อย ๆ เริ่ม ไม่ควรหักโหมมากในครั้งแรก ๆ เพื่อเป็นการปรับสภาพร่างกายก่อน การออกกำลังกายที่ดี ควรเป็นการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องไม่ใช่หักโหมทำเป็นครั้งคราว ควรเริ่มจากการอุ่นร่างกาย (ประมาณ 5-10 นาที) ออกกำลังกาย (15-20 นาที) และจบด้วยการผ่อนคลาย (5-10 นาที) ทุกครั้ง ในการออกำลังกายทุกครั้งไม่ควรกลั้นหายใจ หรือสูดลมหายใจอย่างแรง ควรหายใจเข้า และออกยาว ๆ เพื่อช่วยระบบการหายใจของร่างกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสมของผู้สูงอายุนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน
No comments:
Post a Comment