Sunday, September 24, 2017

เคล็ดลับอายุยืน 100 ปี แบบญี่ปุ่น

คัดลอกมาจากเพื่อนเอามาฝากครับ..
คนญี่ปุ่นอายุเกิน 100 ปีมี 500 คน แต่ที่ยืนเดินช่วยตัวเองได้ มีสติครบถ้วน มีประมาณ 100 คน ลองดูข้อสรุปและนำไปปฏิบัติว่าทำไมอายุถึงยืน

1. ส่วนใหญ่ไม่กินมังสวิรัติ

2. ร่างกายส่วนใหญ่ท้วม ไม่อ้วนลงพุง หรือผอม

3. กินนมและไข่ทุกวัน

4.มีคลอเลสเตอรอลและความดัน สูงกว่าปกติเล็กน้อย

5. ดื่มเบียร์ 1 ลิตร / วัน (เบียร์กระป๋องยาว 1 - 2 กระป๋อง / ไวน์ 2 - 3 แก้ว) ดื่มเบียร์แล้วหลอดเลือดจะขยายตัว ความดันลดลง เวลาไปยืนฉี่บางคนเป็นลมหน้ามืดได้

6. ยิ่งแก่อยากอายุยืน ต้องกินโปรตีน/ เนื้อให้เพียงพอ โดยเจาะเลือดดู Albumin ต้องมากกว่า 4

7. ออกกำลังกายแขน ขา ยิ่งเดินสมองยิ่งเสื่อมยาก

8. ออกกำลังปาก ด้วยการขยับขากรรไกรกระตุ้นเลือดเลี้ยงสมองมากขึ้น เคี้ยวหมากฝรั่ง / หัวเราะ ทำให้สมองเสื่อมช้าลง

9. อย่าอยู่คนเดียว หาเพื่อนคุย อย่าอยู่นิ่งเฉยหาอะไรทำตลอดเวลา อย่าให้ซึมเศร้า อย่าดูทีวีคนเดียวบ่อยๆโดยไม่ขยับแขนขา

10. ยิ่งอารมณ์รุนแรงยิ่งกระตุ้นสมอง ไม่ให้เสื่อมง่าย เจอเรื่องหัวเราะก็หัวเราะเต็มที่ เจอเรื่องเศร้าก็ให้ร้องไห้ออกมาดังๆ จะป้องกันสมองเสื่อมได้ดีกว่าการฝึกสมองเสียอีก

11. อย่าปล่อยให้ประสาทสัมผัสทั้ง5(ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง) เฉื่อยชา ต้องรักษาให้สดใสตลอดเวลา

12. พูดเรื่องสัปดนบ้าง จะได้สดชื่นกระชุ่มกระชวย

ทั้งหมดข้างต้น....ทำเถอะ ดีต่อตนเองและประเทศชาติด้วย

Saturday, May 20, 2017

ทานผักสด ระวัง "มะเร็ง"

เรื่องปุ๋ยคนไทยไม่เคยขี้เหนียว
มก.เผยงานวิจัยพบการสะสมไนเตรตในผักไฮโดรโปนิก โดยเฉพาะผักคะน้ามีค่าสูง เกินมาตรฐาน เตือนผู้บริโภคระวังภัยเงียบที่แฝงในผักอาจก่อโรคมะเร็งโดยไม่รู้ตัว แนะผู้ปลูกผักอย่าใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น

น.ส.พัชราภรณ์ ภู่ไพบูลย์ นักวิจัยจากฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ตนและคณะวิจัยประกอบด้วย น.ส.วาสนา บัวงาม และนางศิริวัลย์ สร้อยกล่อม ร่วมกันศึกษาการสะสมไนเตรตในพืชผักที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากมี น้อยคนที่จะทราบว่าในพืชผักยังมีธาตุอาหารชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อการเจริญ เติบโต คือ ไนโตรเจน ซึ่งพืชจะนำไนโตรเจนไปใช้ในรูปของไนเตรต และหากมีไนโตรเจนมาก เกินความต้องการของพืชอาจทำให้เกิดการสะสมไนเตรตในดินและพืชมากขึ้น เมื่อรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้ไนเตรตไปรวมตัวกับสารเหนี่ยวนำที่ทำให้เกิด มะเร็ง ดังนั้นผู้บริโภคผักที่มีปริมาณไนเตรตสะสมอยู่สูงจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรค มะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ นับเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพผู้บริโภคโดยตรง
น.ส.พัชราภรณ์ระบุว่า ผลการศึกษาการสะสมไนเตรตในผักคะน้า ผักกาดหอม และผักบุ้ง ที่จำหน่ายทั้งในตลาดสดและศูนย์การค้า โดยแบ่งผักออกเป็นประเภทผักไฮโดรโปนิก ผักอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ และผักที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี นำมาวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า ผักที่ปลูกในน้ำยาไฮโดรโปนิกมีแนวโน้มการสะสมไนเตรตสูงสุด เพราะวิธีปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกมีการเติมน้ำยาให้พืชเจริญเติบโตมากเกินความ จำเป็นหรือมากเกินความต้องการตามธรรมชาติของผัก โดยผักคะน้าไฮโดรโปนิกมีค่า เฉลี่ยของไนเตรตสูงที่สุด 4,529 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัมน้ำหนักสด

รองลงมาคือ ผักบุ้ง มีปริมาณไนเตรต 3,978 มิลลิกรัม และผักกาดหอม มีปริมาณไนเตรต 1,729 มิลลิกรัม โดยค่ามาตรฐานที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ในผักรับประทานใบให้มีค่าไนเตรตไม่เกิน 2,500 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม จะเห็นว่าผักคะน้าและผักบุ้งไฮโดรโปนิกมีปริมาณไนเตรตเกินมาตรฐาน ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานค่าไนเตรตในพืชผัก ดังนั้นจึงขอให้เกษตรกรและผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกควรลดปริมาณการใส่น้ำยาหรือ เติมน้ำเปล่าให้มากขึ้น ส่วนการปลูกผักแบบอื่นๆ ก็ไม่ควรใส่ปุ๋ยมากเกินไป

"ผลการศึกษาดังกล่าว เราได้นำเสนอบนเวทีการวิชาการประจำปีของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และยังได้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางในการลดไนเตรตในพืชผักก่อนการบริโภค โดยนำผักคะน้าและผักบุ้งไปต้มน้ำเดือดหรือทำการนึ่งเป็นเวลา 10 นาที ซึ่งสามารถช่วยลดค่าไนเตรตในผักบุ้งและผักคะน้าลดลง 47%" น.ส.พัชราภรณ์เผย

นอกจากนี้ การแช่ผักคะน้าและผักบุ้งในน้ำ 1 วัน การแช่ในด่างทับทิม และการแช่ในน้ำเกลือ ก็มีแนวโน้มที่จะช่วยทำให้ค่าไนเตรต-ไนโตรเจนลดลงด้วยเช่นกัน จึงขอแนะนำให้ผู้บริโภคควรทำความสะอาดพืชผัก ผลไม้ทุกชนิด ทั้งประเภทพืชที่ปลูกแบบปลอดสารเคมี ปลูกแบบชีวอินทรีย์ ปลูกแบบไม่ใช้ดิน ก่อนนำมารับประทาน ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงของภัยเงียบจากพิษสะสมที่เกิดจากไนเตรตในพืชได้