การนอนดึกไม่ว่าใครต่อใครก็คงรู้นะครับว่ามันไม่ดี เพราะการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการนอน หากเรานอนดึกหรือนอนไม่พอ แน่นอนว่ามันต้องไม่ดีต่อร่างกายแน่ๆ แต่จะส่งผลเสียด้านไหนบ้างไหนบ้างนั้นลองไปดูกันครับ
1. อารมณ์ไม่ดี อารมณ์แปรปรวน
จากผลการวิจัย เผยว่า คนที่มีค่าเฉลี่ยการนอนหลับเพียง 4.5 ชั่วโมงต่อคืน เป็นเวลาต่อเนื่อง 1 สัปดาห์นั้น มีแนวโน้มจะเป็นคนที่มีอารมณ์แปรปรวน มากกว่าคนที่มีเวลานอนประมาณ 7 ชั่วโมงต่อคืน ทั้งนี้สภาพอารมณ์แปรปรวนที่เกิดขึ้น เหล่านั้นจะหมายความรวมถึงอารมณ์ และความรู้สึกเครียด เศร้า โมโห หงุดหงิด ท้อแท้ ถึงแม้ว่านี่จะเป็นเรื่องปกติที่คนธรรมดาทุกคน อย่างเราต้องเผชิญอยู่ทุกวี่วัน ก็มีแน้วโน้มว่า คนนอนน้อย นอนไม่พอ จะควบคุมอารมณ์ได้น้อยความคนที่นอนอย่างเพียงพอนั่นเอง
2. สมองไม่รับรู้ เรียนรู้อะไรได้ช้าลง
การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สามารถส่งผลให้สมองของเรา มีการรับรู้และเรียนรู้ช้าลงได้จริง จากผลสำรวจในโรงเรียนมัธยมปลายแห่งหนึ่ง ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้มีการทดลองเลื่อนเวลาเข้าเรียนจาก 7.30 น. เป็น 8.30 น. พบว่า ผลคะแนนของวิชาเลข และวิชาการอ่านของนักเรียนเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 2 และร้อยละ 1 ตามลำดับ และนี่จึงเป็นการอธิบายได้ว่า ถ้าเราเพิ่มระยะเวลาในการนอนหลับ ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเรียนรู้และจดจำของสมองให้มากขึ้นได้
3. มีอาการปวดหัวไม่สบาย
อย่างที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินกัน ว่าการนอนน้อย นอนไม่พอนั้น จะทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุของอาการปวดหัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับคนที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคปวดไมเกรนนั้น ยิ่งมีโอกาสที่อาการจะกำเริบมากกว่าคนที่ไม่เป็นด้วย นอกจากนี้ ก็ยังมีคนส่วนใหญ่ที่นอนน้อย แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่มีอาการปวดหัวในตอนเช้า ในขณะที่อีกร้อยละ 36-58 มีอาการนอนไม่หลับในช่วงตอนกลางคืน พอตื่นเช้าขึ้นมา ก็มีอาการปวดหัวเล็กน้อย
4. อ้วน น้ำหนักขึ้น
คนที่นอนไม่พอ มีแนวโน้มว่าจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ง่ายกว่าคนที่นอนหลับอย่างเพียงพอ เนื่องจากการที่ร่างกายของเรา หลังจากที่ไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอจะเกิดอาการอยากอาหาร หรือว่าหิวง่ายขึ้น หลังจากนั้นสมองก็จะเริ่มสั่งการให้เรามีความรู้สึกอยากกินอาหารแคลอรี่สูง และนี่เองคือสาเหตุสำคัญของการที่น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น คนที่ไม่อยากอ้วน ต้องนอนให้เต็มอิ่มจะได้ไม่เกิดปัญหาที่ว่านี้
5. โรคหัวใจ
จากการทดลองในกลุ่มอาสาสมัคร ที่ไม่มีการนอนพักผ่อนเลยเป็นเวลา 88 ชั่วโมง ผลที่ได้ก็คือ พวกเขาเหล่านั้นมีระดับความดันเลือดที่สูงมาก ในขณะเดียวกันเมื่อเปลี่ยนมาให้กลุ่มอาสาสมัครได้นอนเป็นเวลานาน 4 ชั่วโมงใน 1 คืน ผลปรากฎว่า อัตราการเต้นของหัวใจกลับอยู่ในระดับซึ่งมีความใกล้เคียงกับคนที่นอนเป็นระยะเวลานานปกติ และอีกหนึ่งสิ่งที่ส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจก็คือ สารโปรตีน ที่มาสะสมตัวมากขึ้นในช่วงที่เราตื่น และจะถูกขับออกจากร่างกายโดยธรรมชาติเมื่อเราหลับ เพราะฉะนั้นเวลาที่นอนไม่พอ หรือนอนน้อยติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จึงมีความเสี่ยง ที่จะเป็นโรคหัวใจได้
6. ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง
เมื่อเรานอนน้อยจะทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ทำงานอย่างไม่มีทำให้การฟื้นฟูและซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ที่สึกหรอผิดแปลกไปจากปกติ ผลที่เกิดขึ้นคือ แผลหายช้า รวมถึงร่างกายจะติดเชื้อง่ายขึ้น
7. รู้สึกช้า เฉื่อยชา
สำหรับการพิสูจน์ข้อสันนิษฐานนี้นักวิจัย ได้ทำการแบ่งกลุ่มอาสาสมัครออกเป็นสองกลุ่มด้วยกัน โดยจัดให้กลุ่มหนึ่งห้ามนอน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งได้นอนตามปกติ จากนั้นให้อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มทำแบบทดสอบทั้งหมด 2 ครั้ง ผลที่ได้ปรากฏว่า กลุ่มอาสาสมัครฝั่งที่ได้นอนพักผ่อน อย่างเพียงพอนั้นมีการตอบโต้ และทำการตัดสินใจได้รวดเร็วมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้นอนหลับพักผ่อน ด้วยเหตุนี้จึงสามารถสรุปได้ว่า การนอนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ร่างกายมีการตอบสนองได้ช้าลง และทำให้มีอาการเฉื่อยชา
8. สายตาพร่ามัวหนังตากระตุก
นอนน้อยทำให้การมองเห็นมีประสิทธิภาพแย่ลง การนอนไม่พอมีผลทำให้สายตาของเราพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ที่เข้าใจว่าหลายคนน่าจะเคยมีอาการแบบนี้กันบ้าง และถ้าหากนอนไม่พอติดต่อกันไปเรื่อยๆ เป็นระยะเวลาหลายคืน ก็อาจมีอาการเห็นภาพหลอนร่วมด้วย มีคนที่นอนน้อยก็อาจจะเกิดอาการกล้ามเนื้อตากระตุก หรือตาเขม่น หรือที่หลายคนชอบพูดว่าหนังตากระตุก ที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า หนังตากระตุกขวาร้าย ซ้ายดี ทั้งที่ความจริงแล้ว อาการกล้ามเนื้อตากระตุก หนังตาเขม่น มองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าเป็นภาพซ้อน เบลอ มองไม่ชัด ก็มาจากที่เซลล์กล้ามเนื้อบริเวณดวงตาที่ไม่ได้รับการซ่อมแซมตัวเองอย่างสมบูรณ์เพราะนอนน้อยนั่นเอง
9. ปัสสาวะบ่อย
ผู้ใหญ่ที่มีอาการฉี่รดที่นอน และชอบตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำในช่วงตอนกลางคืนบ่อยๆ ก็เป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่ง ว่าร่างกายของเรากำลังได้รับการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากระบบขับปัสสาวะภายในร่างกายของเราจะทำงานตามนาฬิกาชีวิตเหมือนทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนของกล้ามเนื้อหูรูดในท่อปัสสาวะจะไม่ทำงานในตอนกลางคืน อีกทั้งมีนยังมีความแข็งแรงมากพอที่จะกลั้นปัสสาวะของเรา ไม่ให้เกิดอาการฉี่รดที่นอนในขณะที่เราหลับ เมื่อคนเรานอนไม่พอติดต่อกันเป็นประจำนั้น ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้กล้ามเนื้อหูรูดในท่อปัสสาวะอ่อนแอลงได้ จนกลายเป็นปัญหาฉี่รดที่นอนในผู้ใหญ่
10. ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด
เพราะอะไร คืนก่อนวันสำคัญ ควรเข้านอนแต่เช้า? ถ้าเป็นสาวๆ ก็น่าจะห่วงในเรื่องของความสวยความงาม นอนไม่พอหน้าโทรม ดูไม่สดชื่น ซึ่งในความเป้นจริงมีเหตุผลมากกว่านั้นซ่อนอยู่ คือ การนอนไม่พอนั้น จะส่งผลทำให้สมองประมวลความคิดช้าลง และก่อให้เกิดการตัดสินใจผิดพลาดได้
11. ไม่มีสมาธิ
ความอ่อนเพลีย จากการนอนน้อย ทำให้สมาธิแย่ลง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ทั้งการทำงาน เล่นกีฬา การเรียน หรือแม้กระทั่งการขับ เนื่องจากสมองไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ร่างกายอยู่ภาวะมึนงงไม่สามารถตั้งใจจดจ่อกับอะไรได้
12. พูดจาไม่รู้เรื่อง
จากการทดลองในเรื่องนี้ ในกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่นอนเลยเป็นเวลา 36 ชั่วโมงนั้น ผลปรากฏว่า อาสาสมัครกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มเป็นคนพูดจาไม่รู้เรื่อง พูดติดขัด และพูดได้ช้าลง ที่สำคัญก็คือ พวกเขาไม่สามารถพูดในสิ่งที่คิดออกมาได้ เพราะสมองประมวลความคิดต่างๆ ช้าลงนั่นเอง
13. เจ็บป่วยง่าย
นอนน้อย นอนไม่พอทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำลง จากผลการวิจัยส่วนใหญ่ เผยว่า คนที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง มีโอกาสป่วยได้มากกว่าคนที่นอนเกิน 8 ชั่วโมงถึงสามเท่า และคนที่ใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับนั้น ก็มีโอกาสป่วยง่ายกว่าคนที่หัวถึงหมอนแล้วหลับเลยถึง 5.5 เท่าเลยทีเดียว
14. มีความเสี่ยงที่จะประสบอุบัติเหตุ
คิดว่าเป็นอาการที่หลายคนเคยเจอมากับตัวเองอยู่แล้ว สำหรับการนั่งหลับ รู้สึกง่วง ถ้าเป็นที่ทำงานในบริษัทก็ยังไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นอาชีพที่ต้องใช้สมาธิอยู่ตลอดเวลา อย่างการขับยานพาหนะ คนเหล่านี้จะให้ความสำคัญกับการนอนมากเป็นพิเศษ เช่น นักบิน คนขับรถ คนขับรถบรรทุกส่งของ เป็นต้น สาเหตุเป็นเพราะการนอนไม่พอสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่า อย่างที่เห็นกันในหัวข้อข่าวเป็นประจำ ปัญหาส่วนหนึ่งที่ว่านี้ เกิดจากจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย เมื่อเผลอหลับในเพียงระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาที ก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้แล้ว
15. สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง
ไม่อยากเชื่อก็ต้องเชื่อว่าการนอนหลับมีผลต่อเรื่องสมรรถภาพทางเพศด้วย ว่ากันว่าการนอนหลับไม่ไม่เพียงพอ จะมีผลต่อกระบวนการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนให้ต่ำลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลง ซึ่งภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น จะพบเห็นได้มากในผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนไม่หลับ
16. ขี้หลงขี้ลืม
ผลการวิจัยในปี 1924 เปิดเผยว่า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมนอนน้อย เมื่อเทียบกับคนปกติ และส่งผลให้เกิดการสะสมตัวของโปรตีนแอมีลอยด์ บีตา (Amyloid beta) ในเซลล์ประสาทมีความหนาขึ้นเป็นชั้น ทำให้สมองเสื่อม นอกจากนี้ยังส่งผลต่อโครงสร้างของรูปสมองให้เปลี่ยนไป และนี่จึงเป็นสาเหตุที่สมองจดจำอะไรไม่ได้นาน
17. อายุสั้นลง
การที่อายุขัยของเราสั้นลงนั้น เป็นปัญหาโดยรวมที่เกิดขึ้นเมื่อเรานอนพักผ่อนไม่เพียงพอ จากหลายๆ โรคที่เกิดขึ่นอย่างที่เราได้กล่าวกันไปแล้วเมื่อข้างต้น เมื่อผลกระทบเหล่านั้นถูกสะสมมาเป็นระยะเวลานาน ร่างกานของเราก็อ่อนแอลง ซึ่งทำให้ชีวิตของเราสั้นลงตามมาด้วย จากผลการวิจัยเผยว่า การนอนในตอนกลางคืนโดยเฉลี่ย 7-8 ชั่วโมงนั้นเป็นช่วงเวลาที่กำลังดีและเหมาะสมที่สุด ซึ่งจะสามารถยืดอายุขัยของเราให้นานขึ้นได้ด้วย
รู้อย่างงี้แล้วใครที่ยังติดนอนดึกอยู่ก็ลองนอนให้มันเร็วขึ้นกันนะครับ ด้วยความปรารถนาดีจากพี่แฮนด์^^
ที่มา http://www.lady108.com/
Cr. https://blog.eduzones.com/rangsit/142709
No comments:
Post a Comment