Monday, February 10, 2014

อาหารหลังผ่าตัด

Photo: อาหารหลังผ่าตัด

อาหารอ่อนสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วไม่ว่าจะผ่าตัดเล็ก เช่น ไส้ติ่ง หรือผ่าตัดใหญ่ เช่น นิ่ว หรือเนื้องอก

อาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อย มีกากน้อย ย่อยง่าย รสชาติอ่อนๆ  ส่วนอาหารหมักดอง อาหารมีรสจัด เหนียว มักจะงด

                ข้าวต้มเครื่องที่มีเนื้อสัตว์ที่บดแล้วผสมอยู่ เช่น ข้าวต้มหมู ข้ามต้มปลา หรือโจ๊ก จึงเหมาะอย่างมากที่จะจัดให้แก่ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารอ่อนแต่"ข้าวต้มกับ" มักจะมีปัญหาเรื่อง"กับ"ที่รับประทานกับข้าวต้ม เพราะคนไทยมักจะคุ้นกับการรับประทานข้าวต้มกับของดอง เช่น ขิงดอง เกี้ยมฉ่าย ซีเซ็กฉ่าย ซึ่งเป็นของต้องห้ามสำหรับอาหารอ่อน เพราะฉะนั้นกับข้าวของข้าวต้ม จึงต้องเลือกเฉพาะกับข้าวที่นุ่ม เปื่อยเท่านั้น เช่น ปลานึ่ง ไข่เจียวนิ่มๆ หมูอบเปื่อยๆ ต้มจับฉ่ายที่ต้มผักจนนุ่มและเปื่อย เป็นต้น

                  ผู้ป่วยบางคนเบื่อข้าวต้ม ก็สามารถเปลี่ยนเป็นก๋วยเตี๋ยวหรือมักกะโรนีได้ โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวน้ำ หรือมักกะโรนีน้ำ แต่ยังไม่ควรใส่ผัก เพราะจะทำให้ย่อยยาก

                เนื้อสัตว์ทุกชนิดสามารถนำมาทำเป็นอาหารของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด เพียงแต่ต้องทำให้นุ่ม เปื่อยเท่านั้น ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย ไม่เหนียว นำมาทำอาหารให้ผู้ป่วยได้ดี แต่ต้องระวังก้างและเกล็ด

                 ส่วนผัก ให้เลือกผักที่ก้านไม่แข็ง ควรเลือกผักใบและเคี่ยวให้นุ่ม เปื่อย

                 ผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่นุ่ม ไม่มีเปลือกแข็งหรือมีใยมาก เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก มะม่วงสุก เป็นต้น

                 ของหวาน ควรเป็นขนมหวานที่รสไม่จัด มีลักษณะนุ่ม เช่น สังขยา ไอศกรีม เยลลี่ คัสตาร์ด สาคูเปียก เป็นต้น

                 เครื่องดื่มประเภทน้ำนม นมถั่วเหลืองหรือน้ำผลไม้ เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมและให้คุณค่าอาหารที่ดีที่สุด

                 ควรหลีกเลี่ยง ชา กาแฟ แต่ถ้าจำเป็นต้องดื่มก็ควรเลือกชนิดที่ไม่มีคาเฟอีน

                 ส่วนเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ควรงดเว้น

                 จะต้องทานอาหารอ่อนไปนานแค่ไหน ?

                 ถ้าการขับถ่ายเป็นปกติ (ไม่มีอาการท้องเสีย-ท้องผูก-ปวดท้อง) ก็เปลี่ยนเป็นอาหารปกติได้ แต่เริ่มที่รสไม่จัดก่อน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.infoforthai.com/forum/topic/5709

อาหารอ่อนสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วไม่ว่าจะผ่าตัดเล็ก เช่น ไส้ติ่ง หรือผ่าตัดใหญ่ เช่น นิ่ว หรือเนื้องอก

อาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อย มีกากน้อย ย่อยง่าย รสชาติอ่อนๆ ส่วนอาหารหมักดอง อาหารมีรสจัด เหนียว มักจะงด

ข้าวต้มเครื่องที่มีเนื้อสัตว์ที่บดแล้วผสมอยู่ เช่น ข้าวต้มหมู ข้ามต้มปลา หรือโจ๊ก จึงเหมาะอย่างมากที่จะจัดให้แก่ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารอ่อนแต่ "ข้าวต้มกับ" มักจะมีปัญหาเรื่อง"กับ" ที่รับประทานกับข้าวต้ม เพราะคนไทยมักจะคุ้นกับการรับประทานข้าวต้มกับของดอง เช่น ขิงดอง เกี้ยมฉ่าย ซีเซ็กฉ่าย ซึ่งเป็นของต้องห้ามสำหรับอาหารอ่อน เพราะฉะนั้นกับข้าวของข้าวต้ม จึงต้องเลือกเฉพาะกับข้าวที่นุ่ม เปื่อยเท่านั้น เช่น ปลานึ่ง ไข่เจียวนิ่มๆ หมูอบเปื่อยๆ ต้มจับฉ่ายที่ต้มผักจนนุ่มและเปื่อย เป็นต้น

ผู้ป่วยบางคนเบื่อข้าวต้ม ก็สามารถเปลี่ยนเป็นก๋วยเตี๋ยวหรือมักกะโรนีได้ โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวน้ำ หรือมักกะโรนีน้ำ แต่ยังไม่ควรใส่ผัก เพราะจะทำให้ย่อยยาก

เนื้อสัตว์ทุกชนิดสามารถนำมาทำเป็นอาหารของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด เพียงแต่ต้องทำให้นุ่ม เปื่อยเท่านั้น ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย ไม่เหนียว นำมาทำอาหารให้ผู้ป่วยได้ดี แต่ต้องระวังก้างและเกล็ด

ส่วนผัก ให้เลือกผักที่ก้านไม่แข็ง ควรเลือกผักใบและเคี่ยวให้นุ่ม เปื่อย

ผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่นุ่ม ไม่มีเปลือกแข็งหรือมีใยมาก เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก มะม่วงสุก เป็นต้น

ของหวาน ควรเป็นขนมหวานที่รสไม่จัด มีลักษณะนุ่ม เช่น สังขยา ไอศกรีม เยลลี่ คัสตาร์ด สาคูเปียก เป็นต้น

เครื่องดื่มประเภทน้ำนม นมถั่วเหลืองหรือน้ำผลไม้ เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมและให้คุณค่าอาหารที่ดีที่สุด

ควรหลีกเลี่ยง ชา กาแฟ แต่ถ้าจำเป็นต้องดื่มก็ควรเลือกชนิดที่ไม่มีคาเฟอีน

ส่วนเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ควรงดเว้น

จะต้องทานอาหารอ่อนไปนานแค่ไหน ?

ถ้าการขับถ่ายเป็นปกติ (ไม่มีอาการท้องเสีย-ท้องผูก-ปวดท้อง) ก็เปลี่ยนเป็นอาหารปกติได้ แต่เริ่มที่รสไม่จัดก่อน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.infoforthai.com/forum/topic/5709

No comments:

Post a Comment