Thursday, February 13, 2014

การกินผลไม้อย่างถูกวิธี


พวกเราต่างคิดว่าการกินผลไม้เป็นเรื่องง่ายๆ แค่ซื้อมา แล้วก็ปอก จากนั้นก็หยิบเข้าปากเท่านั้น
คุณจะได้รับประโยชน์มากกว่า ถ้าคุณรู้ว่าควรจะกินอย่างไร

ผลไม้นั้นควรกินในขณะท้องว่าง…ไม่ใช่เป็นของหวานหลังอาหาร อย่างที่เราทำกันประจำ!!

ถ้าคุณกินผลไม้ในขณะท้องว่าง มันจะช่วยคุณในการล้างพิษจากร่างกาย ให้พลังงาน สำหรับช่วงลดน้ำหนัก และกิจกรรมอื่นในชีวิตประจำวัน

คุณกินขนมปังแล้วตามด้วยผลไม้หรือเปล่า...?

เนื่องจากผลไม้ย่อยได้เร็วกว่าขนมปัง ชิ้นผลไม้จะถูกย่อยอย่างรวดเร็วและพร้อมที่จะผ่านกระเพาะไปสู่ลำไส้ แต่เส้นทางของมันถูกขวางไว้โดยขนมปัง ซึ่งใช้เวลาย่อย นานกว่า…เป็นเวลาที่อาหาร ทั้งหมดผ่านกระบวนการหมักและเปลี่ยนสภาพเป็นกรด จากนั้นเมื่อผลไม้สัมผัสกับอาหารในกระเพาะและน้ำย่อย อาหารทั้งหมดก็จะเริ่มบูดเสีย

ดังนั้นจะเป็นการดีกว่า ถ้าเรากินผลไม้ในขณะท้องว่างหรือก่อนมื้ออาหาร

คงมีคนเคยบ่นกับคุณแบบนี้...
" ฉันเรอทุกครั้งที่กินแตงโม เวลาฉันกินทุเรียน กระเพาะฉันพองขึ้น เวลาฉันกินกล้วย ฉันรู้สึกอยากวิ่งไปห้องน้ำ " เป็นต้น

ที่จริงแล้วสิ่งเหล่านี้ จะไม่เกิดขึ้นถ้าคุณกินผลไม้ ในขณะท้องว่าง

ผลไม้รวมตัวกับอาหารอื่นที่ถูกย่อยทำให้เกิดแก๊สขึ้น จึงทำให้รู้สึก แน่น!

ผมหงอก หัวล้าน อาการหงุดหงิดเป็นกังวล รอยคล้ำใต้ดวงตา! ทั้งหมดนี้ จะไม่เกิดขึ้น ถ้าคุณกินผลไม้ในขณะท้องว่าง

การเข้าใจผิดว่าผลไม้บางอย่าง เช่น ส้ม มะนาว ซึ่งเป็นกรดจะทำให้เกิดกรดในกระเพาะ...
นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า ผลไม้ทุกอย่างจะเปลี่ยนเป็นด่างภายในร่างกายเรา

เมื่อคุณต้องการดื่มน้ำผลไม้ ให้ดื่มน้ำผลไม้สดเท่านั้น! อย่าดื่มน้ำผลไม้กระป๋อง อย่าดื่มน้ำผลไม้ที่ผ่านความร้อน อย่ากินผลไม้ที่ถูกปรุงเป็นอาหาร เพราะคุณจะไม่ได้คุณค่าทางโภชนาการเลย คุณจะได้เพียงรสชาติเท่านั้น

ดังนั้น ถ้าคุณต้องการคุณค่าทางโภชนาการ การนำผลไม้ มาปรุงเป็นอาหาร จะทำลายวิตามินทั้งหมด

การกินเนื้อผลไม้หรือผลไม้ทั้งลูก จะดีกว่าการดื่มน้ำผลไม้ เพราะเส้นใยจากเนื้อผลไม้จะดีสำหรับคุณ

ถ้าคุณดื่มน้ำผลไม้ ให้ดื่มช้าๆ ทีละคำ เพื่อให้น้ำผลไม้รวมกับน้ำลาย ของคุณก่อนที่จะกลืนลงไป

“การกินแต่ผลไม้” เป็นเวลา 3 วันเป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพอย่างมาก ในการทำความสะอาดและล้างพิษในร่างกาย 

เพียงแต่กินผลไม้ และดื่มน้ำผลไม้ตลอด 3 วัน คุณจะแปลกใจเมื่อเพื่อนคุณบอกคุณว่า คุณดูสดใสดีจัง!

ระหว่าง “การกินแต่ผลไม้” คุณสามารถกินผลไม้ได้หลากหลาย ในเวลาต่างๆ แม้แต่สลัดผลไม้ ซึ่งเป็นเมนูที่น่าสนใจ

ถ้าคุณกินผลไม้อย่างถูกวิธีเป็นประจำ คุณก็จะมีเคล็ดลับของความงาม อายุยืน สุขภาพ พลังงาน ความสุขและน้ำหนักตัวที่เป็นปกติ

ขอให้สุขภาพดี สวย หล่อ กันทุกคน

(บทความนี้จากศาสตราจารย์นายแพทย์ท่านหนึ่งของร.พ.ศิริราชค่ะ)

Tuesday, February 11, 2014

เคล็ดลับ 12 ข้อ จากแพทย์จีน


1. หวีผมบ่อยๆ: หวีผมเบาๆ บ่อยหน่อยช่วยให้ตาสว่าง และรากผมแข็งแรง (ใช้หวีซี่ห่างหน่อย แปรงเบาหน่อย เพื่อกันผมหลุด)

2. ถูใบหน้าบ่อยๆ: ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ให้สะอาดก่อน หลังจากนั้นใช้ฝ่ามือ 2 ข้างถู หน้าเบาๆ บ่อยหน่อยเพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ใบหน้าเปล่งปลั่ง

3. เคลื่อนไหวดวงตาบ่อยๆ: ให้มองไกล-มองใกล้ มองข้างนอก-ข้างใน มองบน-มองล่าง หลีกเลี่ยงการมอง หรือจ้อง อะไรนานๆ โดยเฉพาะคนที่ทำงานคอมพิวเตอร์ควรพักสายตาด้วยการมองไกลอย่างน้อยทุกชั่วโมง

4. กระตุ้นใบหูบ่อยๆ: การดึงหู ดีดหู บีบหู ถูใบหูเบาๆ บ่อยหน่อย ช่วยบำรุงตานเถียน(จุดฝังเข็ม) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เก็บพลังงานของร่างกาย (ใต้สะดือ) สัมพันธ์กับไต ซึ่งเปิดทวารที่หู ทำให้แรงดี ป้องกันเสียงดังในหู หูตึง และอาการเวียนหัว

5. ขบฟันบ่อยๆ: ขบฟันเบาๆ บ่อยหน่อย(ไม่ใช่ขบแรงดังกรอดๆ) ช่วยให้ฟันแข็งแรง และกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย

6. ใช้ลิ้นดุนเพดานปากบ่อยๆ: การใช้ปลายลิ้น กระตุ้นเพดานบนด้านหน้าเป็นการกระตุ้นจุดฝังเข็ม เพื่อเชื่อมพลัง ลมปราณตู๋และเยิ่น ซึ่งเป็นเส้นควบคุมแนวกลางลำตัวส่วนหลัง และส่วนหน้าร่างกาย ทำให้เกิดการกระตุ้นการหลั่งสารน้ำ และน้ำลาย

7. กลืนน้ำลายบ่อยๆ: การกลืนน้ำลายบ่อยๆ ช่วยกระตุ้นพลังบริเวณคอหอย และกระตุ้นการย่อยอาหาร

8. หมั่นขับของเสีย: หมั่นขับของเสีย โดยเฉพาะดื่มน้ำให้พอ กินอาหารที่มีเส้นใย ออกกำลัง เพื่อ ป้องกันท้องผูก เมื่อปวดปัสสาวะหรืออุจจาระให้ถ่ายทันที อย่ารอโดยไม่จำเป็น การทิ้งของเสียไว้ในร่างกายนานเกินทำให้เกิดสารพิษ และการดูดซึมสารพิษ ( กลับเข้าสู่ร่างกาย) มากขึ้น ทำให้ป่วยง่าย

9. ถูหรือนวดท้องบ่อยๆ: ให้นวดท้องตามเข็มนาฬิกาเบาๆ เพื่อช่วยให้การขับถ่ายของเสียดีขึ้น

10. ขมิบก้นบ่อยๆ: การขมิบก้นบ่อยๆ ช่วยป้องกันริดสีดวงทวาร และท้องผูก

11. เคลื่อนไหวทุกข้อ: การอยู่นิ่งๆ หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ทำให้เกิดโรคได้ง่าย ควรเคลื่อน ไหวข้อต่างๆ ให้ครบทุกข้อทุกวัน ฝึกฝนการใช้กล้ามเนื้อและข้อให้สมดุล เช่น การฝึกชี่กง ไท ้เก้ก โยคะ ฯลฯ

12. ถูผิวหนังบ่อยๆ: ใช้ฝ่ามือถูตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย คล้ายกับการถูตัวเวลาอาบน้ำ มีส่วนช่วยให้ เลือดและพลังไหลเวียนดี

เรียนเชิญท่านผู้อ่านลองนำไปปฏิบัติดู เพื่อสุขภาพ พลัง และลมปราณที่ดีไป นานๆ ครับ...
ท่านอาจารย์นายแพทย์ภาสกิจ(วิทวัส) วัณนาวิบูล อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแพทย์ แผนจีนแนะนำเคล็ดลับการดูแลสุขภาพ ตามศาสตร์แพทย์แผนจีนว่า อาหาร 10 อย่างที่ไม่ควรกินมากเกิน นำแนวคิดศาสตร์แพทย์แผนจีนมาวิเคราะห์โดย ใช้หลักแพทย์แผนปัจจุบันประกอบ... อาหารที่ไม่ควรกินมากเกิน หรือบ่อยเกินได้แก่...

  • 1. ไข่เยี่ยวม้า: ไข่เยี่ยวม้ามีตะกั่วค่อนข้างสูง ตะกั่วทำให้การดูดซึมแคลเซียมน้อยลงกินบ่อยๆ จะเสี่ยงโรคกระดูกโปร่งบาง และอาจได้รับพิษตะกั่วเช่น สมองเสื่อม เป็นหมัน ฯลฯ
  • 2. ปาท่องโก๋: กระบวนการทำปาท่องโก๋มีการใช้สารส้ม ซึ่งมีตะกั่วปน เปื้อน ตะกั่วทำให้ไตทำงานหนักในการขับสารนี้ออกไป นอกจากนั้นยังทำให้คอแห้ง เจ็บคอง่าย โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคร้อนในได้ง่าย
  • 3. เนื้อย่าง: กระบวนการรมไฟ ย่างไฟทำให้เกิดสารเบนโซไพรีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง 
  • 4. ผักดอง: ผักดอง และของหมักเกลือทำให้ร่างกายได้รับเกลือโซเดียมสูง ถ้ากินบ่อยเกิน หรือมากเกินจะทำให้หัวใจทำงานหนัก เกิดความดันเลือดสูงและโรคหัวใจได้ง่าย นอกจากนั้นกระบวนการหมักดองยังทำให้เกิดสารแอมโมเนียมไนไตรด์ ซึ่งเป็นสาร ก่อมะเร็ง
  • 5. ตับหมู: ตับหมูมีโคเลสเตอรอลสูง การกินตับหมูบ่อยเกิน หรือมากเกินทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เส้นเลือดสมอง (อัมพฤกษ์-อัมพาต) และโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น
  • 6. ผักขม ปวยเล้ง: ผักขมและปวยเล้งมีสารอาหารสูง ทว่า... มีกรดออกซาเลตมากทำให้เกิดการขับสังกะสีและแคลเซียมออกจากร่างกายมาก การกินบ่อยเกิน หรือมากเกินอาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียม หรือสังกะสีได้
  • 7. บะหมี่สำเร็จรูป: บะหมี่สำเร็จรูปมีสารกัดบูด สารแต่งรสค่อนข้างสูง และมีคุณค่าทางอาหารต่ำ การกินบะหมี่สำเร็จรูปมากเกิน หรือบ่อยเกินอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคขาดอาหารและการสะสมสารพิษได้


ขอขอบคุณแหล่งข่าวมา ณ ที่นี้/กลุ่มเยาวชนเพื่อนเยาวชน

Cr…สรรหาสาระสุขภาพ

Monday, February 10, 2014

อาหารหลังผ่าตัด

Photo: อาหารหลังผ่าตัด

อาหารอ่อนสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วไม่ว่าจะผ่าตัดเล็ก เช่น ไส้ติ่ง หรือผ่าตัดใหญ่ เช่น นิ่ว หรือเนื้องอก

อาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อย มีกากน้อย ย่อยง่าย รสชาติอ่อนๆ  ส่วนอาหารหมักดอง อาหารมีรสจัด เหนียว มักจะงด

                ข้าวต้มเครื่องที่มีเนื้อสัตว์ที่บดแล้วผสมอยู่ เช่น ข้าวต้มหมู ข้ามต้มปลา หรือโจ๊ก จึงเหมาะอย่างมากที่จะจัดให้แก่ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารอ่อนแต่"ข้าวต้มกับ" มักจะมีปัญหาเรื่อง"กับ"ที่รับประทานกับข้าวต้ม เพราะคนไทยมักจะคุ้นกับการรับประทานข้าวต้มกับของดอง เช่น ขิงดอง เกี้ยมฉ่าย ซีเซ็กฉ่าย ซึ่งเป็นของต้องห้ามสำหรับอาหารอ่อน เพราะฉะนั้นกับข้าวของข้าวต้ม จึงต้องเลือกเฉพาะกับข้าวที่นุ่ม เปื่อยเท่านั้น เช่น ปลานึ่ง ไข่เจียวนิ่มๆ หมูอบเปื่อยๆ ต้มจับฉ่ายที่ต้มผักจนนุ่มและเปื่อย เป็นต้น

                  ผู้ป่วยบางคนเบื่อข้าวต้ม ก็สามารถเปลี่ยนเป็นก๋วยเตี๋ยวหรือมักกะโรนีได้ โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวน้ำ หรือมักกะโรนีน้ำ แต่ยังไม่ควรใส่ผัก เพราะจะทำให้ย่อยยาก

                เนื้อสัตว์ทุกชนิดสามารถนำมาทำเป็นอาหารของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด เพียงแต่ต้องทำให้นุ่ม เปื่อยเท่านั้น ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย ไม่เหนียว นำมาทำอาหารให้ผู้ป่วยได้ดี แต่ต้องระวังก้างและเกล็ด

                 ส่วนผัก ให้เลือกผักที่ก้านไม่แข็ง ควรเลือกผักใบและเคี่ยวให้นุ่ม เปื่อย

                 ผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่นุ่ม ไม่มีเปลือกแข็งหรือมีใยมาก เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก มะม่วงสุก เป็นต้น

                 ของหวาน ควรเป็นขนมหวานที่รสไม่จัด มีลักษณะนุ่ม เช่น สังขยา ไอศกรีม เยลลี่ คัสตาร์ด สาคูเปียก เป็นต้น

                 เครื่องดื่มประเภทน้ำนม นมถั่วเหลืองหรือน้ำผลไม้ เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมและให้คุณค่าอาหารที่ดีที่สุด

                 ควรหลีกเลี่ยง ชา กาแฟ แต่ถ้าจำเป็นต้องดื่มก็ควรเลือกชนิดที่ไม่มีคาเฟอีน

                 ส่วนเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ควรงดเว้น

                 จะต้องทานอาหารอ่อนไปนานแค่ไหน ?

                 ถ้าการขับถ่ายเป็นปกติ (ไม่มีอาการท้องเสีย-ท้องผูก-ปวดท้อง) ก็เปลี่ยนเป็นอาหารปกติได้ แต่เริ่มที่รสไม่จัดก่อน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.infoforthai.com/forum/topic/5709

อาหารอ่อนสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วไม่ว่าจะผ่าตัดเล็ก เช่น ไส้ติ่ง หรือผ่าตัดใหญ่ เช่น นิ่ว หรือเนื้องอก

อาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อย มีกากน้อย ย่อยง่าย รสชาติอ่อนๆ ส่วนอาหารหมักดอง อาหารมีรสจัด เหนียว มักจะงด

ข้าวต้มเครื่องที่มีเนื้อสัตว์ที่บดแล้วผสมอยู่ เช่น ข้าวต้มหมู ข้ามต้มปลา หรือโจ๊ก จึงเหมาะอย่างมากที่จะจัดให้แก่ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารอ่อนแต่ "ข้าวต้มกับ" มักจะมีปัญหาเรื่อง"กับ" ที่รับประทานกับข้าวต้ม เพราะคนไทยมักจะคุ้นกับการรับประทานข้าวต้มกับของดอง เช่น ขิงดอง เกี้ยมฉ่าย ซีเซ็กฉ่าย ซึ่งเป็นของต้องห้ามสำหรับอาหารอ่อน เพราะฉะนั้นกับข้าวของข้าวต้ม จึงต้องเลือกเฉพาะกับข้าวที่นุ่ม เปื่อยเท่านั้น เช่น ปลานึ่ง ไข่เจียวนิ่มๆ หมูอบเปื่อยๆ ต้มจับฉ่ายที่ต้มผักจนนุ่มและเปื่อย เป็นต้น

ผู้ป่วยบางคนเบื่อข้าวต้ม ก็สามารถเปลี่ยนเป็นก๋วยเตี๋ยวหรือมักกะโรนีได้ โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวน้ำ หรือมักกะโรนีน้ำ แต่ยังไม่ควรใส่ผัก เพราะจะทำให้ย่อยยาก

เนื้อสัตว์ทุกชนิดสามารถนำมาทำเป็นอาหารของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด เพียงแต่ต้องทำให้นุ่ม เปื่อยเท่านั้น ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย ไม่เหนียว นำมาทำอาหารให้ผู้ป่วยได้ดี แต่ต้องระวังก้างและเกล็ด

ส่วนผัก ให้เลือกผักที่ก้านไม่แข็ง ควรเลือกผักใบและเคี่ยวให้นุ่ม เปื่อย

ผลไม้ ควรเป็นผลไม้ที่นุ่ม ไม่มีเปลือกแข็งหรือมีใยมาก เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก มะม่วงสุก เป็นต้น

ของหวาน ควรเป็นขนมหวานที่รสไม่จัด มีลักษณะนุ่ม เช่น สังขยา ไอศกรีม เยลลี่ คัสตาร์ด สาคูเปียก เป็นต้น

เครื่องดื่มประเภทน้ำนม นมถั่วเหลืองหรือน้ำผลไม้ เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมและให้คุณค่าอาหารที่ดีที่สุด

ควรหลีกเลี่ยง ชา กาแฟ แต่ถ้าจำเป็นต้องดื่มก็ควรเลือกชนิดที่ไม่มีคาเฟอีน

ส่วนเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ควรงดเว้น

จะต้องทานอาหารอ่อนไปนานแค่ไหน ?

ถ้าการขับถ่ายเป็นปกติ (ไม่มีอาการท้องเสีย-ท้องผูก-ปวดท้อง) ก็เปลี่ยนเป็นอาหารปกติได้ แต่เริ่มที่รสไม่จัดก่อน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.infoforthai.com/forum/topic/5709