Monday, March 15, 2010

สตรีวัยทอง

สตรีไทยจะมีช่วงอายุถึง 1 ใน 3 ของชีวิตอยู่ในวัยหมดระดู ซึ่งเรียกกันว่า วัยทอง สตรีบางท่านยังมีความสามารถทำคุณประโยชน์ได้ บางท่านประสบความสำเร็จในชีวิต บางท่านยังไม่เริ่มทำอะไรเลย แต่ทุกคนย่อมต้องการมีสุขภาพดี คุณภาพชีวิตที่ดีต้องเริ่มต้นจากการมีสุขภาพที่ดี

    การเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจในสตรีวัยทองนั้น ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังเหี่ยวย่น รอยตีนกา อารมณ์หงุดหงิด เหงื่อออกตอนกลางคืน นอนไม่หลับ เป็นต้นนั้น มักได้รับการอบรมสั่งสอน อิทธิพลวาทศิลป์ ประเพณีสังคมและวัฒนธรรมไทย ว่าเป็นภาวะเลือดจะมา ลมจะไป หรือสังขารนั้นไม่เที่ยง เป็นต้น โดยปราศจากความเข้าใจในช่วงชีวิตวัยทองว่า สตรีท่านนั้นสามารถดำเนินชีวิตในวัยนี้อย่างปกติได้อย่างไร

    ขอเริ่มต้นที่อาหาร เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า อาหารมังสวิรัติ เป็นอาหารที่เหมาะสมกับวัยสูงอายุและวัยทอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุณาลดพวกโปรตีน ไขมัน เพื่อการควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม และกรุณาเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น งาดำ ปลาตัวเล็ก ๆ นมสด เป็นต้น การควบคุมและเลือกรับประทานให้ถูกต้องจะช่วยควบคุมและป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดโลหิต ซึ่งมักจะถามหาสตรีวัยทอง เป็นกรณีพิเศษ

    การได้อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดีเหมาะสมแก่วัยนั้น เป็นมงคลแก่ชีวิต ภาวะเครียดเป็นปัจจัยเริ่มต้นที่บั่นทอนทั้งสุขภาพกายและใจ การได้ท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ เพื่อพักผ่อน และว่างเว้นจากการงานนั้น เป็นยารักษาภาวะเครียดที่ได้ผล นอกเหนือจากการสงบจิตใจ กาย ตามหลักพุทธศาสนา

    ในปัจจุบัน มลภาวะเป็นปัจจัยที่ทุกคนยอมรับว่าควรจะหลีกเลี่ยง สตรีวัยทองควรเลือกที่อยู่อาศัยในสภาพที่ดี อากาศบริสุทธิ์ เช่น ตามชายทะเล เชิงเขา และชนบท เป็นต้น

    ปัจจัยสุดท้ายที่จะเน้นคือกิจวัตรประจำวัน สตรีใดมัวแต่ทำการ ทำงาน โดยละเลยการออกกำลังกาย ขอให้เริ่มต้นตั้งแต่บัดนี้ อาหารที่ดีและการออกกำลังกายที่เหมาะสมสามารถป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ การออกกำลังกายที่พอเหมาะแก่วัยทอง เช่น การเดิน วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน เป็นต้น ในระยะเวลาที่เหมาะสมคือประมาณ 30 นาที 2-3 ครั้ง ในหนึ่งสัปดาห์ จะช่วยลดประปริมาณไขมันในเลือด กระตุ้นหัวใจ และป้องกันภาวะกระดูกพรุน

    กิจวัตรประจำวันที่จะขอเน้นอีกอย่างคือการพักผ่อน เป็นที่ยอมรับกันว่าการนอนจะหลับหรือไม่หลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด และควรเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 6-8 ชม. สตรีวัยทองจำนวนมาก ประสบปัญหาเกี่ยวกับการนอน เช่น นอนไม่หลับเลย นอนหลับยากแต่ตื่นง่าย หรือวันหนึ่งหนึงนอนหลับพักผ่อนได้ไม่กี่ชั่วโมง เป็นต้น

    การพักผ่อนที่ดีอีกอย่างคือ งานอดิเรก สตรีวัยทองควรมองหางานอดิเรกทำ โดยขอเน้นว่าต้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจส่วนบุคคล เวลาว่างที่มีอยู่และสภาพของครอบครัว สตรีวัยทองหลายท่านคิดเองว่า ถูกครอบครัวทอดทิ้ง จากการที่ลูกเจริญเติบโตเป็นวัยรุ่น สามีมีอาชีพการงานก้าวหน้ามั่นคง ทุกคนจึงมีเวลาให้แก่กันและกัน และแก่ครอบครัวน้อยลง สตรีวัยทองจึงควรพบปะเพื่อนฝูงและหางานอดิเรกทำบ้าน เมื่อคิดว่าตัวเองเหงา

    ผู้เขียนเพียงหวังในสตรีทุกคนเข้าใจว่า "สตรีวัยทอง เป็นวัยที่ยังสามารถทำคุณประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติได้ไม่น้อยกว่าวัยทำงานเลย"

อ้างอิง:- น.อ.ทวีศักดิ์ วังศกาญจน์

Wednesday, March 10, 2010

โรคภูมิแพ้ที่ตา

โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีความไวผิดปกติต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้  ในคนปกติจะไม่เกิดอาการ แต่คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ หากได้รับสารก่อภูมิแพ้ก็จะเกิดอาการแพ้ขึ้น  สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้มีมากมายหลายชนิด เช่น เกสรดอกไม้ เครื่องสำอาง ขนของสัตว์เลี้ยง วัชพืช น้ำหอม ตัวไรฝุ่นที่นอน เชื้อราในที่อับชื้น เป็นต้น

โรคภูมิแพ้ซึ่งเกิดที่ตาชั้นนอก เป็นโรคตาที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง โดยพบได้ประมาณ 10-20% ของคนปกติทั่วไป  ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ หรือเขตชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักคิดว่าโรคภูมิแพ้ที่ตาเป็นโรคที่ไม่อันตราย เพียงแค่ก่อให้เกิดความรำคาญ แต่ในรายที่เป็นเรื้อรังหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจทำให้เกิดความพิการของตาได้

ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ ควบคู่ไปกับการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้ดี รวมถึงได้รับการติดตามผลการรักษาเป็นระยะๆ แล้วจะสามารถลดอัตราการเกิดการแพ้และการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

สาเหตุของโรคภูมิแพ้ที่ตา
1. พันธุกรรม 
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ จะมีโอกาสเกิดเป็นโรคภูมิแพ้ได้มากกว่าคนปกติ
2. สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้โดยตรง
ได้แก่ เครื่องสำอาง น้ำหอม เกสรดอกไม้ ขนของสัตว์เลี้ยง ตัวไรฝุ่นในที่นอน เป็นต้น
3. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคโดยตรง
แต่เป็นปัจจัยเสริมให้อาการของโรครุนแรงขึ้น ได้แก่ ควันบุหรี ฝุ่นละอองในอากาศที่มีมากเกินไป ควันจากท่อไอเสียหรือโรงงานอุตสาหกรรม ภาวะติดเชื้อที่ตา เป็นต้น

ประเภทของโรคภูมิแพ้ที่ตา
แบ่งตามกลุ่มอาการแพ้ที่แสดงอาการที่ตาชั้นนอก ได้แก่
1. เยื่อบุตาขาวอักเสบจากการแพ้ชนิดไม่รุนแรง (Allergic Conjunctivitis) 
เป็นโรคที่พบได้บ่อย เป็นสาเหตุอันดับแรกๆ ของอาการคันตาและตาแดง อาจพบร่วมกับโรคภูมิแพ้อื่นๆ เช่น โรคลมพิษ โรคหวัดแพ้อากาศ การแพ้อาหาร เป็นต้น  ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง คันตา น้ำตาไหล แสบตา เคืองตา ตาบวมแดง มักเกิดกับตาสองข้างพร้อมๆ กัน  ในรายที่เป็นมาก มีอาการตาสู้แสงไม่ได้
2. โรคภูมิแพ้ที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์ (Giant Papillary Conjunctivitis)
เป็นอาการแพ้ที่เกิดการใช้คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน โดยเฉพาะผู้ที่ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน  โดยพบได้มากถึง 40% ของผู้ใช้คอนแทคเลนส์มานานกว่า 5 ปี  ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายตาเมื่อสวมใส่คอนแทคเลนส์ พบตุ่มนูนแดงเป็นเม็ดเล็กๆ จำนวนมากที่เยื่อบุตาด้านบน มีอาการแสบตาและระคายตาอยู่ตลอดเวลา
3. อะโทปิค เคอระโทค็อนจังคทิไวทิส (Atopic Keratoconjunctivitis)
เป็นลักษณะอาการภูมิแพ้ที่แสดงออกทางหนังตา เยื่อบุตาขาว และกระจกตา  ผู้ป่วยมักมีอาการเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ  เพศชายเป็นมากกว่าเพศหญิง และมักพบประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวด้วย  ผู้ป่วยจะมีอาการตาแดง แสบตา คันตามาก เยื่อบุตาขาวบวม เปลือกตาหนา บางครั้งพบการติดเชื้อแบคทีเรียด้วย
4. เวอนัล เคอระโทค็อนจังคทิไวทิส (Vernal Keratoconjunctivitis)
สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด มักเกิดในช่วงอายุ 11-20 ปี และมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้อย่างอื่นร่วมด้วย  ผู้ป่วยจะมีอาการคันตา และแสบตามาก ตาสู้แสงไม่ได้ น้ำตาเหนียวข้น เยื่อบุหนังตาอักเสบนูนแดงเป็นรูปหกเหลี่ยมเรียงกันคล้ายกระเบื้อง อาจพบกระจกตาเป็นแผ่นฝ้าขาวซึ่งทำให้สายตามัวลง

การรักษาการเกิดภูมิแพ้ที่ตา
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ หรือสารกระตุ้นที่ทำให้มีอาการแพ้มากขึ้น
2. บรรเทาอาการแพ้ด้วยการใช้ความเย็น เมื่อเกิดอาการแพ้ ตาบวม คันตา ควรใช้น้ำสะอาด น้ำตาเทียม หรือน้ำเกลือล้างตา เพื่อล้างเอาสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ออก และประคบด้วยความเย็น จะช่วยบรรเทาอาการแพ้และอาการระคายเคืองตาให้ดีขึ้น
3. การรักษาโดยการใช้ยา ควรอยู่ภายใต้การดูแลและแนะนำจากแพทย์ทุกครั้งเพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตรงกับอาการของโรค และมีความปลอดภัยในการใช้ยา
  • 3.1 ใช้ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน ควรใช้ในกรณีที่มีอาการแพ้มาก หรือเสริมประสิทธิภาพการรักษากับยาหยอดตาแก้แพ้
  • 3.2 การใช้ยาหยอดตาในการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ตา ให้ผลในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นยาใช้เฉพาะที่ทำให้มีผลข้างเคียงจากการใช้ยาน้อยกว่ายาชนิดรับประทาน
ยาหยอดตาในการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ตามีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ยาหยอดตาต้านฮีสตามีน ผสมยาหดเส้นเลือด ช่วยลดอาการคันที่เกิดจากสารฮีสตามีน

ยาหยอดตากลุ่มคอร์ติโคสเตอร์รอยด์ ให้ผลในการรักษาได้ดี แต่มีข้อควรระวังในการใช้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น

ยารักษาโรคภูมิแพ้ที่ตาที่มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีน และทำให้เยื่อบุผิวของแมสเซลล์ (mast cell) เกิดความคงตัวในยาตัวเดียว ยับยั้งการปล่อยสารที่ก่อให้เกิดการแพ้จากแมสเซลล์ ให้ผลในการรักษาอาการและอาการแสดงของตาจากการแพ้

การเลือกการรักษาโรคภูมิแพ้ที่ตาด้วยวิธีใด หรือตัวยาชนิดใดนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค ควรอยู่ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์

Wednesday, March 3, 2010

โรคหัวใจแก้ไขได้ถ้ารู้วิธี

1. รับประทานผักให้มากเข้าไว้
การเลือกรับประทานอาหารมีผลต่อโรคหัวใจ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อยกว่า 20%  การรับประทานผักจึงเป็นสิ่งดี เพราะมีไขมันไม่มาก  ผักสดและผักใบเขียวมีสารแอนตี้ออกซิเดชั่น ช่วยลดอัตราการเกิดไขมันพอกผิวในหลอดเลือด จึงช่วยลดการตีบตันของหลอดเลือดได้

2. รู้จักพักบ้าง
การทำงานประจำบางครั้งทำให้เรามีความเครียด เราจึงควรเปลี่ยนบรรยากาศ ไปพักผ่อน หรือผ่อนคลายควมเครียดเป็นระยะๆ เพราะความเครียดเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดหดตัว  การพักผ่อน หรือหางานอดิเรกทำ เป็นวิธีในการผ่อนคลายความเครียดและเปลี่ยนอิริยาบถจากความจำเจทั้งหลาย

3. ทำใจให้สงบนิ่ง
การผ่อนคลายที่ได้ผลดีที่สุด ต้องเข้าถึงจิตใจ จึงจำเป็นต้องหาวิธีทำจิตใจให้สงบ อาจโดยปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา เช่น การนั่งสมาธิ เดินจงกรม แล้วแต่ว่าวิธีไหนที่ถูกกับจริตของเรา เมื่อพักกายแล้ว ต้องฝึกพักใจด้วย ก็จะเกิดประโยชน์อย่างมากมาย

4. ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับร่างกายและหัวใจ  เราควรเลือกการออกกำลังกายที่พอเหมาะพอดี ถูกวิธี และสม่ำเสมอสำหรับตนเอง สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อดูแลให้ได้รับการออกกำลังกายที่เหมาะสม  เพราะขนาดและประเภทของการออกกำลังในผู้เป็นโรคหัวใจเป็นยาอย่างหนึ่งที่จะต้องเลือกและกำหนดขนาด ถ้ามากไปอาจเป็นอันตรายได้

Tuesday, March 2, 2010

รักษาโรคด้วยน้ำผึ้ง


1. ใช้น้ำผึ้งลดการอักเสบ
หากมีบาดแผลหรือแผลถลอก ให้ล้างแผลด้วยยาเบกกิ้งโซดาหรือชาอบเชย ชาเสจ ชาใบผักชี (ที่เย็นแล้ว) ซึ่งมีสรรพคุณฆ่าเชื้อทั้งสิ้น อาจใช้ชาดำธรรมดา น้ำมันหอมและน้ำมันกระเทียมช่วยล้างด้วย เพื่อห้ามเลือด จากนั้นทาน้ำผึ้งสะอาดบนบาดแผล น้ำผึ้งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและทำให้แผลหายเร็ว
2. ใช้น้ำผึ้งรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา
นำผงขมิ้นผสมน้ำผึ้งทาบริเวณกลากเกลื้อน วันละ 2 ครั้ง
3. ใช้น้ำผึ้งต้านข้ออักเสบ
ผสมน้ำสัมแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ 2 ช้อนชาลงในน้ำร้อน เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ชงดื่มวันละ 2 ครั้ง
4. ใช้น้ำผึ้งแก้อาการท้องผูก
กินกล้วยน้ำว้าสุกจิ้มน้ำผึ้ง หรือมันต้มสุกจิ้มน้ำผึ้ง ช่วยลดอาการท้องผูกได้เช่นกัน
5. หลับสบายด้วยน้ำผึ้ง
น้ำผึ้งเป็นยาระงับประสาทอ่อน ๆ ชงน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่น หรือชาดอกไม้ เช่น ชาดอกคาโมมายล์ ดื่มก่อนนอน จะช่วยให้หลับสบายขึ้น
6. น้ำผึ้งบำรุงเลือด
เทน้ำผึ้งครึ่งช้อนโต๊ะใส่แก้ว บีบน้ำมะนาว 1 ซีก ใส่เกลือนิดหน่อย เติมน้ำร้อน ดื่มเป็นยาบำรุงเลือด
7. ใช้น้ำผึ้งลดความดันโลหิตสูง
ผสมน้ำผึ้งและงาดำ อย่างละ 50 กรัม ตำงาดำให้ละเอียดแล้วคลุกกับน้ำผึ้ง ชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคความดันโลหิตสูงและบรรเทาอาการท้องผูกเรื้อรัง
8. ใช้น้ำผึ้งบำบัดเบาหวาน
นำสาลี่หอมหรือสาลี่หิมะจำนวน 5 ลูก น้ำผึ้ง 250 กรัม  ปอกเปลือกสาลี่แล้วตำให้ละเอียด นำไปคลุกกับน้ำผึ้ง แล้วต้มจนเหนียว บรรจุใส่ขวด ผสมน้ำกิน ช่วยแก้อาการไอและบำบัดโรคเบาหวานได้

ที่มา: นิตยสารชีวจิต 194